Logo Extract Plus

วิธีปฏิบัติของผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับรังสีรักษา - บริเวณช่องท้องและอุ้งเชิงกราน


 

ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีบริเวณช่องท้องและอุ้งเชิงกราน  ผลของรังสีก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อระบบทางเดินอาหาร  ระบบอวัยวะสืบพันธุ์  ระบบทางเดินปัสสาวะได้  การปฏิบัติตนที่ถูกต้องจะช่วยลดภาวะแทรกซ้อน และทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะปกติได้เร็วขึ้น

ผลต่อระบบทางเดินอาหาร

จะมีผลกระทบต่อลำไส้เล็ก  ลำไส้ใหญ่  และทวารหนัก  อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเบื่ออาหาร  คลื่นไส้  ปวดท้อง  ท้องเสีย  ท้องอืด  หรือทำให้เกิดอาการปวดถ่วงบริเวณทวารหนัก

ผู้ป่วยควรปฏิบัติดังนี้

  1. ดูแลความสะอาดของปาก  และฟันสม่ำเสมอ
  2. ควรรับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย  เช่น  ข้าวต้ม 
  3. ควรรับประทานอาหารเสริม  เช่น  น้ำผลไม้หรืออาหารเสริมอื่นๆ
  4. ควรรับประทานอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
  5.  หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ท้องอืด  เช่น  น้ำอัดลม
  6. หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ท้องเสียมากยิ่งขึ้น  เช่น  อาหารรสจัด  อาหารหมัก
  7. กรณีที่มีอาการท้องเสีย  ควรดื่มเครื่องดื่มผสมเกลือแร่ ORS (โอ อาร์ เอส)
  8. ถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา  ไม่ควรให้ท้องผูกเพราะอุจจาระจะแข็งจะทำให้ลำไส้เป็นแผลเลือดออกได้

 ผลต่ออวัยวะระบบสืบพันธุ์

อาจเกิดอาการช่องคลอดแห้ง  คัน  หรือตกขาว  หรือน้ำใสๆ ไหลออกมาทางช่องคลอดซึ่งเกิดจากการที่ก้อนเนื้องอกถูกทำลาย  หรือเป็นแผลบริเวณก้น  ผู้ป่วยควรปฏิบัติดังนี้

  • ไม่ควรใส่กางเกง  หรือกางเกงในที่มีขอบแข็งหรือรัดแน่นจนเกินไป
  • หลังการถ่ายอุจจาระ  หรือปัสสาวะควรทำความสะอาด  และซับให้แห้ง  ไม่ควรเช็ดถูแรงๆ
  • สวนล้างช่องคลอดตามคำแนะนำ  ถ้ามีเลือดออกทางช่องคลอดให้งดสวนล้างช่องคลอด
  • งดการมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างการฉายรังสี  เพราะอาจเกิดการติดเชื้อได้ง่าย

ผลต่อระบบทางเดินปัสสาวะ

อาจมีการถ่ายปัสสาวะบ่อย  แสบขัด  ปวดท้องน้อย

ผู้ป่วยควรปฏิบัติดังนี้

  1.  ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
  2. ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ
  3.  เมื่อปัสสาวะแสบขัด  หรือปัสสาวะปนเลือดควรปรึกษาแพทย์

 การดูแลตนเองเมื่อผู้ป่วยได้รับรังสีรักษาครบแล้ว

ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีบริเวณช่องท้องและอุ้งเชิงกราน  เมื่อได้รับการฉายรังสีครบแล้ว ส่วนมากจะรู้สึกว่าตนเองแข็งแรงดี  แต่บางคนอาจมีอาการไม่สุขสบายหรือมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน  เช่น  คลื่นไส้  อาเจียน  ท้องเสีย  กระเพาะปัสสาวะอักเสบ  ลำไส้ใหญ่อักเสบหรือมีตกขาว  หรือการอักเสบของช่องคลอด  ซึ่งอาจทำให้ช่องคลอดตีบตันได้จึงควรป้องกัน  โดยปฏิบัติดังนี้

การป้องกันกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบจะมีอาการปัสสาวะกระปริบกระปรอย  ต่อมาอาจมีปัสสาวะแสบขัด  หรือมีเลือดปนท่านควรป้องกันโดยดื่มน้ำมากๆ วันละ 8-10 แก้ว  และอย่ากลั้นปัสสาวะในกรณีที่มีปัสสาวะปนเลือดควรต้องนอนพักอย่างเต็มที่  ดื่มน้ำให้มากๆ อย่ากลั้นปัสสาวะ  อาการเลือดออกจะหายไปได้เอง

การป้องกันลำไส้ใหญ่อักเสบ

  • ลำไส้ใหญ่อักเสบจะมีอาการท้องเสียหรือถ่ายอุจจาระเป็นเลือด  หากเกิดอาการท้องเสีย  ท่านควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ท้องเสียมากยิ่งขึ้น  เช่น  นม  อาหารรสจัด  อาหารหมักดอง  และควรรับประทานอาหารอ่อนที่ดูดซึมง่าย
  • หลีกเลี่ยงการเกิดอาการท้องผูก  โดยสร้างสุขนิสัยในการขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน  ควรดื่มนมหรือน้ำมากๆ และรับประทานอาหารประเภทผลไม้  เช่น  กล้วยสุก  มะละกอสุก  ส้ม  มะขาม  เป็นต้น  ถ้าถ่ายอุจจาระปนเลือดหรือมีมูกเลือดควรไปพบแพทย์ที่ดูแลขณะฉายรังสีอยู่จะดีที่สุด

 การบริหารร่างกาย

ปัญหาที่อาจพบในผู้ป่วยที่ฉายรังสีบริเวณนี้คือ  การบวมของขา  และบริเวณเหนือหัวเหน่า  หรือการปวดข้อสะโพก  การบริหารร่างกายจะช่วยลดภาวะเหล่านี้

ท่าบริหาร

  1. ก้มตัวสลับกับแอ่นตัวไปข้างหลัง 
  2. ส่ายสะโพกเป็นวงกลมช้าๆ 
  3. นอนหงาย  วางมือราบกับพื้น  สะโพกและขาเหยียดตรง  เริ่มบริหารโดยค่อยๆ งอเข่าและสะโพกข้างหนึ่งเข้าหาตัวให้เต็มที่  จากนั้นเหยียดสะโพกออกเล็กน้อยโดยเข่ายังงออยู่แล้วงอสะโพกเข้าเต็มที่อีกครั้ง  จากนั้นเหยียดเข่าและสะโพกกลับสู่ที่พักตอนแรกให้ทำในท่าเดียวกันในอีกขาข้างหนึ่ง
  4. ยืนตรง  แกว่งขาไปข้างหน้าและข้างหลังสลับกัน  ทำเช่นเดียวกันทั้ง 2 ข้าง
  5. ยืนตรง  กางขาออกทางด้านข้าง  และหุบกลับในทางเดิม  ทำสลับกันทั้ง 2 ข้าง
  6. นอนหงาย  งอเข่าและสะโพก  จากนั้นหมุนสะโพกให้หัวเข่าหมุนตามไปทางด้านข้างตรงข้ามต่อไปกางออกให้เต็มที่และและกลับสู่ท่าแรก  ทำสลับข้างในท่าเดียวกันนี้เวลานอนควรยกขาสูงเล็กน้อย  เพื่อไม่ให้เกิดการคั่งของเลือดบริเวณขา

การป้องกันช่องคลอดตีบแคบ

การเกิดช่องคลอดตีบแคบ  ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการตรวจภายในเพื่อติดตามการดำเนินของโรคมักพบผู้ป่วยเนื้องอกของช่องคลอด  ปากมดลูก  หรือรังไข่  ท่านควรปฏิบัติต่อดังนี้

  1.  มาตรวจภายในตามแพทย์นัดทุกครั้ง
  2. หลังการรักษาครบ 4-6 สัปดาห์  เมื่อแพทย์ตรวจไม่พบว่าก้อนเนื้องอกและการอักเสบในช่องคลอด  และแพทย์แนะนำให้ท่านสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ  ท่านอาจรู้สึกเจ็บบ้างขณะมีเพศสัมพันธ์ซึ่งเป็นอาการปกติที่พบได้ภายหลังการรักษา  เนื่องจากน้ำหล่อลื่นตามธรรมชาติลดลงจึงควรใช้ครีมหล่อลื่นช่วย  เช่น  เควาย  เยลลี่
  3. ภายหลังมีเพศสัมพันธ์อาจจะมีเลือดออกจากช่องคลอดเล็กน้อย  เป็นสิ่งปกติเพราะเส้นเลือดฝอยในช่องคลอดจะเปราะและแตกได้ง่ายไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด  และเลือดจะหยุดไปเองภายใน 1-2 ชั่วโมง
  4. การมีเพศสัมพันธ์จะไม่ทำให้โรคกำเริบ  และไม่ติดโรคเพราะเนื้องอกไม่ใช่โรคติดต่อ
  5. ในรายที่ไม่มีเพศสัมพันธ์  ท่านควรขยายช่องคลอดโดยการใช้นิ้วมือแทน  โดยตัดเล็บให้สั้น  ล้างมือให้สะอาด  และบีบสารหล่อลื่นใส่ปลายนิ้วชี้และนิ้วกลางสอดนิ้วมือเข้าไปในช่องคลอดจนสุดนิ้ว  ควรทำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง อย่างสม่ำเสมอ 

 

ถ้าหากว่าคุณกำลังอยู่ในช่วงการรักษามะเร็ง เช่น ผ่าตัด คีโม หรือ ฉายแสง ให้ Extract Plus ช่วยดูแลคุณด้วยส่วนประกอบจากสมุนไพรนานาชนิดที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายของคุณ ลดผลข้างเคียงจากการรักษา เพื่อให้สุขภาพของคุณแข็งแรงมากยิ่งขึ้น

ปรึกษาผลิตภัณฑ์
เอ็กซ์แทร็คท์พลัส

กรุณากรอกแบบฟอร์ม เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง

Our Partners

extract plus