ค่ามะเร็งคืออะไร - ค่ามะเร็งปกติควรอยู่ที่เท่าไร

ค่ามะเร็งคืออะไร?
หลายคนเมื่อได้ยินว่า “ค่ามะเร็ง” เกินกว่าปกติก็จะเกิดความกังวล ฉะนั้นแล้วค่ามะเร็งที่ว่านี้คืออะไร การบ่งชี้ของค่ามะเร็งนั้นสามารถบอกอะไรได้บ้าง การตรวจหาค่ามะเร็งคือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการหาค่ามะเร็งในเลือด เซลล์ เนื้อเยื่อ หรือของเหลวต่างๆ ในร่างกาย ค่ามะเร็งที่พบบ่อยเช่น AFP CEA CA125 เป็นต้น
ค่ามะเร็งนั้นสามารถทำให้ตรวจพบมะเร็งได้ และระดับความสูงของค่ามะเร็งบางชนิดนั้นสามารถแสดงให้เห็นถึงระยะของโรค รวมถึงขนาดและน้ำหนักของก้อนเนื้อได้ด้วย แต่ปัจจุบันนั้นยังไม่มีมะเร็งชนิดไหนที่มีค่ามะเร็งสูงถึง 100% ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่า ค่ามะเร็งนั้นไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงความมีอยู่ของก้อนเนื้อได้อย่าง 100% ค่ามะเร็งบางชนิดนั้นแสดงผลค่อนข้างต่ำ ดังนั้นการคัดกรองผู้ป่วยมะเร็งด้วยค่ามะเร็งนั้นถือว่าเป็นไปได้ค่อนข้างยาก
ค่ามะเร็งและเนื้องอกนั้นมีความสัมพันธ์กันหรือไม่
มีความสัมพันธ์กัน แต่ก็ไม่สามารถนำทั้งสองอย่างมีเชื่อมโยงกันได้อย่างสมบูรณ์ สำหรับผู้ป่วยบางท่านเมื่อพบว่าค่ามะเร็งของตนเองนั้นเกินกว่าปกติก็จะเกิดความกังวล และคิดว่าตนเองนั้นป่วยเป็นโรคมะเร็ง สำหรับเรื่องนี้ นพ.หลิวชู่เผิ่งกล่าวว่าค่ามะเร็งนั้นเป็นเพียงแค่การเตือนล่วงหน้าเท่านั้น แต่เราไม่สามารถนำค่ามะเร็งมาเป็นผลวิจัยหลักในการวินิจฉัยโรคได้ ในการตรวจร่างกายหากพบว่าค่ามะเร็งสูงนั้นไม่ได้หมายความว่าจะเป็นโรคมะเร็งอย่างแน่นอน และก็ไม่สามารถนำมาใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยมะเร็งได้ เมื่อค่ามะเร็งสูงนั้นยังสามารถบ่งชี้ถึงโรคอื่นๆได้ เช่น โรคตับอักเสบเรื้อรัง โรคต่อมลูกหมากโต โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือการรับประทานยาต่างๆอาจส่งผลต่อผลตรวจเช่นกัน สามารถพูดได้ว่า ผู้ป่วยมะเร็งนั้นไม่จำเป็นต้องมีค่ามะเร็งสูง ปัจจุบัน ค่า AFP นั้นสามารถแสดงถึงเนื้องอกได้เพียงแค่ 70% เท่านั้น หรือ ในผู้ป่วยมะเร็งตับมีเพียง 70% เท่านั้นที่ค่ามะเร็งสูงเกินเกณฑ์ และมีผู้ป่วยอีก 30% ที่ป่วยเป็นมะเร็งแต่ค่ามะเร็งนั้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ปัจจุบันค่ามะเร็งที่ใช้บ่อยที่สุดคือ AFP CEA CA125 CA153 PAP เป็นต้น
1. AFP
- ค่าปกติ คือ 0—8U/mL: APF คือค่าที่แสดงให้เห็นถึงการเกิดของโรคมะเร็งตับ ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงถึง 60-70% หากค่า AFP>400 U/mL เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ติดกัน หรือ 200~400 U/mL เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ติดกัน หากนำมาวินิจฉัยร่วมกับการตรวจโดยการแสดงภาพแล้ว สามารถตรวจพบโรคมะเร็งตับได้
- มะเร็งตับ มะเร็งอัณฑะและมะเร็งรังไข่ จะสามารถวัดค่า AFP ได้ การบ่งชี้นั้น >80% กล่าวได้ว่า>80% ของผู้ป่วยมะเร็งตับนั้นสามารถตรวจพบได้จากความผิดปกติของค่า AFP ค่าปกตินั้นต่ำกว่า 5.8 U/mL หากค่าบ่งชี้อยู่ที่ 400U/mL เป็นระยะเวลานานกว่า 4 สัปดาห์นั้นก็สามารถประเมินถึงความมีอยู่ของโรคได้ เว้นเสียแต่ผู้ป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรังเนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้สามารถทำให้ค่า AFP สูงขึ้นได้
2. CEA
- ค่าปกติ 0-5 U/mL ค่า CEA นั้นสามารถพบได้ในตัวอ่อนของครรภ์หรือเนื้อเยื่อในลำไส้นับเป็นการบ่งชี้โรคในวงกว้าง ค่า CEA นั้นสามารถบ่งชี้โรคมะเร็งลำไส้ได้ 70% มะเร็งกะเพาะอาหาร 60% มะเร็งตับอ่อน 55%มะเร็งปอด 50% มะเร็งเต้านม 40% มะเร็งรังไข่ 30% มะเร็งมดลูก 30%
- 70-80% ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้นั้นมีค่า CEA สูงกว่าปกติ แค่ค่า CEA นั้นค่อนข้างชัดเจน โดยทั่วไปแค่ 10 U/mL ก็สามารถแสดงถึงความมีอยู่ของโรคมะเร็งได้แล้ว
- ค่าปกติ 0-39 U/mL อัตราการบ่งชี้ของมะเร็งตับอ่อนอยู่ที่ 80-90% อัตราการบ่งชี้ของมะเร็งลำไส้อยู่ที่ 60% อัตราการบ่งชี้ของมะเร็งตับอยู่ที่ 64% เว้นแต่ผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนแบบจีน มะเร็งถุงน้ำดี Cholestatic cholangitis โรคตับแข็ง โรคตับก็สามารถทำให้ค่า CEA สูงขึ้นได้
3. CA125
- ค่า CA125 นั้นสามารถตรวจพบได้ที่บริเวณเยื่อบุผิวของเนื้อเยื่อมะเร็งรังไข่ หรือเซรุ่มของผู้ป่วย ค่า CA125 นั้นเป็นการตรวจที่สำคัญสำหรับการคัดกรอง วินิจฉัย และการรักษาผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ ซึ่งสามารถบ่งชี้ได้ถึง 70%
- ค่าปกติของ CA125 จะอยู่ที่ 0-8.5 U/mL % ซึ่งจะสามารถบ่งชี้โรคมะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม มะเร็งตับอ่อน มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นต้น และเป็นการตรวจที่สามารถบ่งชี้อย่างสำคัญสำหรับผู้ป่วยหญิง และเป็นการตรวจที่ได้รับการยอมรับกันในสากล แต่โรคหรือภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ ซีสต์รังไข่ หรือช่วงสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ก็อาจทำให้ค่า CA125 สูงขึ้นได้เช่นกัน
PSA ค่าปกติ :0-6.5 U/mL สามารถบ่งชี้โรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ แต่โรคต่อมลูกหมากโต โรคต่อมลูกหมากอักเสบ โรคไต โรคตับ หรือโรคที่เกี่ยวกับทางเดินกระเพาะปัสสาวะก็อาจทำให้ค่า PSA สูงขึ้นได้เช่นกัน
4. CA15-3
- ค่า CA 15-3 นั้นสามารถเป็นตัวช่วยในการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านม การติดตามอาการหลังการผ่าตัด และการตรวจการแพร่กระจายของโรคได้ แต่ค่า CA15-3 นั้นสามารถบ่งชี้โรคมะเร็งเต้านมระยะแรกได้ค่อนข้างน้อย หรือแค่เพียง 60% เท่านั้น บ่งชี้โรถมะเร็งเต้านมระยะสุดท้ายได้ 80% เท่านั้น และสามารถบ่งชี้การแพร่กระจายของโรคมะเร็งเต้านมได้สูงถึง 80%
5. PAP
- เซรุ่ม PAP ในมะเร็งต่อมลูกหมากสูงนั้นสามารถเป็นตัวบ่งชี้ในการวินิจฉัย การรักษา การแบ่งระยะของผู้ป่วยโรคมะเร็งได้ แต่โรคต่อมลูกหมากอักเสบและโรคต่อมลูกหมากโตก็สามารถทำให้ค่า PAP สูงได้เช่นกัน
โดยทั่วไปแล้วโรคมะเร็งนั้นจะไม่มีการแสดงอาการใดๆ ผู้ป่วยส่วนมากจะมีอาการเมื่อโรคเข้าสู่ระยะกลาง หรือระยะสุดท้ายแล้ว ซึ่งหมายความว่าได้เสียโอกาสที่ดีที่สุดในการรักษาไปแล้ว ดังนั้นเราควรเข้ารับการตรวจร่างกายเป็นประจำเพื่อประโยชน์ในการรักษา
ถ้าหากว่าคุณกำลังอยู่ในช่วงการรักษามะเร็ง เช่น ผ่าตัด คีโม หรือ ฉายแสง ให้ Extract Plus ช่วยดูแลคุณด้วยส่วนประกอบจากสมุนไพรนานาชนิดที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายของคุณ ลดผลข้างเคียงจากการรักษา เพื่อให้สุขภาพของคุณแข็งแรงมากยิ่งขึ้น