Logo Extract Plus

ตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง - รู้ทัน ลดเสี่ยง ช่วยเพิ่มโอกาสรอด


 

ตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง - รู้ทัน ลดเสี่ยง ช่วยเพิ่มโอกาสรอด

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง (Cancer Screening or Cancer Early Detection) เป็นวิธีการรักษาโรคมะเร็งที่ทางการแพทย์นิยมใช้ เนื่องจากเป็นการตรวจเพื่อค้นหาโรคมะเร็งตั้งแต่ก่อนเป็นโรคจนถึงระยะเริ่มต้น แม้ว่าผู้ป่วยจะยังไม่มีอาการที่แสดงออกมา ส่งผลให้มีอัตราการอยู่รอดจากโรคมะเร็งภายหลังการรักษาเพิ่มขึ้น หรือสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งได้มากขึ้น

แม้ว่าการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งจะยังไม่สามารถคัดกรองโรคมะเร็งได้ทุกชนิด หลายๆ โรคอาจยังไม่สามารถตรวจเจอได้
ซึ่งโรคมะเร็งในปัจจุบันที่สามารถทำการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งได้ เช่น โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น โดยการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งแต่ละชนิดจะมีความถี่ในการตรวจที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม (Breast Cancer Screening)

การตรวจหาเซลล์มะเร็งโดยการทำเอกซเรย์หรือที่เรียกว่าการตรวจแมมโมแกรม (Mammogram) ผู้ป่วยที่มีปัจจัยความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ได้แก่ มีประจำเดือนตั้งแต่อายุน้อย ไม่มีบุตร เคยได้รับการฉายรังสีที่เต้านม ซึ่งแพทย์ได้แนะนำให้ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป เข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจคัดกรอง

  • การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer Screening)

เป็นการตรวจภายในหรือที่เรียกว่า การตรวจแปปสเมียร์  (Pap Smear หรือ Pap Test) เพื่อตรวจดูความผิดปกติของเซลล์ที่ปากมดลูก โดยจะนำเซลล์เหล่านั้นมาตรวจเพื่อค้นหาเซลล์มะเร็ง

  • การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal Cancer Screening)

โดยการส่องกล้องตรวจภายในลำไส้ ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ ซึ่งจะพบมากในกลุ่มคนอายุ ตั้งแต่ 50 ปี เป็นต้นไป

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งมีผลข้างเคียงหรือไม่ 

ผลกระทบที่เกิดจากการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งจะขึ้นอยู่กับวิธีในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง เช่น

  • การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมหรือแมมโมแกรม (Mammogram) ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเจ็บเล็กน้อยในขณะกำลังตรวจคัดกรอง ซึ่งเป็นผลกระทบจากการบีบของเครื่องเอกซเรย์ 
  • การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เนื่องจากเป็นการตรวจด้วยวิธีการส่องกล้อง จึงต้องมีการเตรียมตัวคนไข้ก่อนการตรวจ คือ ต้องมีการทำความสะอาดลำไส้โดยการทานยาระบาย เพื่อนำเอาอุจจาระในลำไส้ออกมาให้หมด ซึ่งอาจจะทำให้คนไข้เกิดอาการอ่อนเพลียได้

รู้หรือไม่? ความเสี่ยงการเกิดโรคระหว่างเพศชายและเพศหญิงแตกต่างกัน

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งในเพศชายและเพศหญิงจะมีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน เช่น โรคมะเร็งเต้านม เพศชายก็มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมได้ แต่เพศหญิงมีความเสี่ยงเยอะกว่า ในส่วนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็มีโอกาสเป็นได้ทั้ง 2 เพศ โดยส่วนใหญ่แพทย์มักจะแนะนำผู้ป่วยที่อายุ ตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป จัดอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ควรเข้ามาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง

การเตรียมความพร้อมก่อนตรวจคัดกรอง

มะเร็งปากมดลูก

  • ตรวจหนึ่งสัปดาห์หลังหมดประจำเดือน
  • ก่อนได้รับการตรวจผู้ป่วยควรงดการมีเพศสัมพันธ์ เหน็บยาในช่องคลอด หรือสวนล้างช่องคลอด 24-48 ชั่วโมง

มะเร็งเต้านม

  • สามารถรับประทานอาหาร และเครื่องดื่มได้ตามปกติ
  • ไม่ควรทาโลชั่น แป้งฝุ่น รวมไปถึงสเปรย์ต่างๆ ที่บริเวณเต้านมและรักแร้ สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดจุดบนภาพ ทำให้การวินิจฉัยคลาดเคลื่อนได้
  • หากเคยตรวจแมมโมแกรม (Mammogram) มาก่อน ควรนำผลการตรวจเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง

มะเร็งลำไส้ใหญ่

  • ควรงดอาหารหรือควบคุมอาหารก่อนเข้ารับการตรวจ
  • ทานอาหารที่มีกากใยน้อยลงและทานยาระบาย เพื่อขับสิ่งต่างๆ ในลำไส้ใหญ่ออกมา

 

มะเร็ง...ภัยร้ายที่ใครๆ ก็หวาดกลัว และกังวล แต่ Extract Plus อยู่เคียงข้างคุณเสมอ ทางเลือกในการดูแลสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้วยสมุนไพรจีนกว่า 10 ชนิด

ปรึกษาผลิตภัณฑ์
เอ็กซ์แทร็คท์พลัส

กรุณากรอกแบบฟอร์ม เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง

Our Partners

extract plus