สำหรับการรักษาโรคมะเร็งรังไข่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการรวมถึงชนิดของมะเร็งรังไข่,ตำแหน่ง ที่อยู่ ความรุนแรงของโรค และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย การพูดคุยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นสิ่งสำคัญก่อนที่จะตัดสินใจ เพื่อการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยส่วนใหญ่ใช้การรักษาโดยกาผสมผสานกันของการผ่าตัด และการให้ยาเคมีบำบัด
สิ่งสำคัญที่ต้องทราบคือ การเลือกยาในการรักษามะเร็งนั้น อาจมีความแตกต่างกันในคนไข้แต่ละคน เพราะถึงแม้ว่าคนไข้จะเป็นมะเร็งชนิดเดียวกันแต่ลักษณะการกลายพันธุ์ของเซลล์มะเร็งอาจมีความแตกต่างกัน
ดังนั้นการตรวจหาการกลายพันธุ์ในเซลล์มะเร็งของคนไข้ด้วย การตรวจยีนมะเร็งอย่างครอบคลุม (Comprehensive Genomic Profiling) จะช่วยให้แพทย์และคนไข้สามารถร่วมกันวางแผนการรักษาและเลือกยาที่เหมาะสมที่สุดกับคนไข้ได้อย่างเหมาะสม4-6
การผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาหลักสำหรับโรคมะเร็งรังไข่ ซึ่งสมควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางมะเร็ง นรีเวช จุดมุ่งหมายหลักของการผ่าตัดคือ เอาก้อนมะเร็งออกจากตัวผู้ป่วยให้มากที่สดุ ซึ่งลักษณะการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับขนาดของตัวก้อน ต่ำแหน่งของตัวก้อนบริเวณเซลล์มะเร็งที่แพร่กระจายไป
หากแพทย์วินิจฉัยว่าเซลล์มะเร็งที่เจริญเติบโตในรังไข่ยังไม่มีการลุกลามมากจนไม่สามารถผ่าตัดได้ แพทย์จะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อนำเอาก้อนมะเร็งและเนื้อเยื่อรอบๆ ออกโดยส่วนมากผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งรังไข่มักได้รับการผ่าตัดเพื่อนำอวัยวะเหล่านี้ออก ได้แก่ รังไข่ทั้งสองข้าง ท่อนำไข่ มดลูก รวมถึงบริเวณปากมดลูกอาจผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองและเยื่อบุช่องท้องออกด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ยาเคมีบำบัดเป็นการใช้ยา เพื่อทำลายหรือยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ที่แบ่งตัวเร็วทั้งร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นเซลล์มะเร็ง หรือเซลล์ปกติของร่างกาย เช่น ผม เล็บ เม็ดเลือด เยื่อบุทางเดินอาหาร เป็นต้นในกรณีผู้ป่วยเป็นมะเร็งรังไข่ในระยะแรกเริ่มจริงๆ ไม่มีการแตกของก้อนยังไม่มีการแพร่กระจายไปนอกรังไข่ การผ่าตัดอย่างเดียวอาจเพียงพอในการรักษาโดยไม่ต้องให้ยาเคมีบำบัด ในผู้ป่วยที่มีเซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ แล้วผู้ป่วยมักจะต้องได้รับยาเคมีบำบัดหลังผ่าตัดเรียกว่า “การรักษาเสริมหลังการผ่าตัด” เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่ยังหลงเหลืออยู่ กรณีนี้เป็นการรักษาเพื่อลดโอกาสของการกลับมาเป็นซ้ำ รวมถึงช่วยเพิ่มอัตราการอยู่รอดของผู้ป่วยด้วยนอกจากนี้ยาเคมีบำบัดยัง ใช้ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ในระยะแพร่กระจายหรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ เพื่อหยุดการกระจายตัวของเซลล์มะเร็งรวมทั้งบรรเทาอาการหรือความทรมานจากโรคมะเร็งรังไข่ เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด และเพิ่มอัตราการอยู่รอดของผู้ป่วยให้นานขึ้น ผลข้างเคียงทั่วไปของยาเคมีบำบัด เช่น เบื่ออาหาร, คลื่นไส้อาเจียน, ผมร่วง, เหนื่อยล้า,โลหิตจาง, เกล็ดเลือดต่ำ, ติดเชื้อได้ง่าย เป็นต้น
ยาแบบมุ่งเป้าเป็นการรักษาโดยการใช้ยาหรือสารอื่นๆ ที่ออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็งและก่อให้เกิดอันตรายต่อเซลล์ปกติน้อยกว่ายาเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา ปัจจุบันยารักษาแบบมุ่งเป้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
การใช้ฮอร์โมหรือสารต้านฮอร์โมน เป็นทางเลือกหนึ่งซึ่งอาจมีผลในการช่วยชะลอหรือยับยั้งการเติบโตและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งรังไข่ได้ อาจใช้ในการรักษาแบบประคับประคอง
ผู้ป่วยหลังการรักษาจะได้รับการติดตามโดยแพทย์ผู้รักษาเพื่อดูแลสุขภาพต่อไปการตรวจติด ตามผลจะถี่หรือบ่อยเพียงใดขึ้นอยู่กับโรคและสภาพร่างกายของผู้ป่วยโดยปกติหลังการรักษาควรพบแพทย์ทุก 3 เดือน ใน 2 ปีแรกซึ่งมีโอกาสกลับเป็นซ้ำสูงสุด จากนั้นเป็นทุก 6 เดือ น การติดตามผลโดยปกติจะใช้การติดตามอาการตรวจร่างกาย ตรวจภายใน ตรวจเลือดเพื่อหาสารติดตามผลมะเร็ง เอกซเรย์ และอื่นๆ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาระยะเวลาตามความเหมาะสม
ถ้าหากว่าคุณกำลังอยู่ในช่วงการรักษามะเร็ง เช่น ผ่าตัด คีโม หรือ ฉายแสง ให้ Extract Plus ช่วยดูแลคุณด้วยส่วนประกอบจากสมุนไพรนานาชนิดที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายของคุณ ลดผลข้างเคียงจากการรักษา เพื่อให้สุขภาพของคุณแข็งแรงมากยิ่งขึ้น